ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
ในจำนวนไม่มาก ทำให้โอกาสที่จะสัมผัสผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยาก
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศปลายทาง
รวมถึงมีระบบคัดกรองผู้ป่วยตั้งแต่การเดินทางเข้าประเทศ
อาการของผู้ติดเชื้อสามารถมีได้หลายระดับความรุนแรง
ตั้งแต่อาการหวัดธรรมดาจนถึงปอดอักเสบติดเชื้อและเสียชีวิตได้
ในปัจจุบันมีการคัดแยกผู้ป่วยที่มีเกณฑ์เข้าข่ายสงสัย
คือมีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสผู้ติดเชื้อและมีอาการเพื่อเข้าห้องแยกความดันลบ
หรือ Negative Pressure Room โดยมีแพทย์ซึ่งสวมชุดป้องกันเป็นผู้ทำการตรวจ
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563
10 คำถามไขความจริงเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา
1) รู้ได้อย่างไรว่าสัมผัสกับเชื้อไวรัสโคโรนา
เพราะดูไม่ออกว่าใครกำลังป่วย?
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19)
ไวรัสโคโรน่า ‘สายพันธุ์ใหม่’ คืออะไร
Severe acute respiratory syndrome coronavirus (SARs-CoV-2) คือเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีชื่อว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) – ‘CO’ มาจากคำว่า Corona, ‘VI’ มาจาก Virus, และ ‘D’ มาจาก Disease ที่แปลว่า ‘โรค’ โดยก่อนหน้านี้เราเอ่ยถึงโรคดังกล่าวว่า ‘โรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019’ หรือ ‘2019-nCoV’
ไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสชนิดใหม่ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับตระกูลของไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome – SARS) หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง รวมทั้งโรคหวัดธรรมดาบางประเภท
เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายได้อย่างไร
เชื้อไวรัสถ่ายทอดผ่านการสัมผัสโดยตรงกับฝอยละออง (Droplet) จากลมหายใจของผู้ติดเชื้อ (ที่เกิดจากการไอและจาม) การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน ไวรัส COVID-19 อาจอยู่รอดบนพื้นผิวเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่ก็ถูกทำลายได้ด้วยสารฆ่าเชื้อทั่วไป
อาการของโรคที่มีรายงาน ได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจหอบ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีโรคปอดอักเสบ หรือหายใจลำบากร่วมด้วย และอาจถึงขั้นเสียชีวิตแต่พบไม่บ่อยนัก
อาการดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคหวัดธรรมดาซึ่งพบได้บ่อยกว่าโควิด-19 และนี่คือเหตุผลที่จะต้องทำการทดสอบเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ทั้งนี้ โรคเหล่านี้ใช้หลักเดียวกันในการป้องกัน นั่นก็คือการล้างมือบ่อย ๆ และดูแลสุขอนามัยทางเดินหายใจ (ไอ-จามใส่ข้อพับแขนด้านใน หรือบนกระดาษทิชชูและทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด) ปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว คุณและลูกจึงควรได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนอยู่เสมอ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)